8.7.52

แสมสาร
1. ชื่อ แสมสาร
2. ชื่ออื่น ขี้เหล็กโคก ขี้เหล็กแพะ ขี้เหล็กป่า ขี้เหล็กสาร ขี้เหล็กดง ขี้เหล็กเลือด ช้าขี้เหล็ก ไงซาน กราปัด กะบัด
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia garrettiana Craib.
4. วงศ์ CAESALPINIACEAE
5. ชื่อสามัญ -
6. แหล่งที่พบ พบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอื่นๆ (ยกเว้นภาคใต้)
7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 13 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมบางๆ
ใบ ใบประกอบแบบขนนกลักษณะเป็นช่อ ช่อหนึ่งๆ มีใบย่อย 6-9 คู่ ก้านช่อมบยาว 4-5 ซม. แกนช่อใบยาว 10-20 ซม. ใบย่อยรูปหอกหรือรูปไข่ค่อนข้างป้อม กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเกลี้ยงไม่มีขน ก้านใบย่อยยาว 4-6 มม.
ดอก ออกเป็นช่อ แตกแขนงออกที่ปลายกิ่ง ยาว 8-20 ซม. มีขนสีน้ำตาลเหลืองคลุมหนาแน่น ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาวประมาณ 3 ซม. มีขนประปรายใบประดับรูปไข่ ยาว 4 มม. ปลายแหลม กลีบรองกลีบดอกยาวไม่เท่ากันกลีบด้านนอก 2 กลีบ มีขนาดเล็กกว่ายาวประมาณ 5 มม. ส่วน 3 กลีบด้านในยาวเป็นสองเท่าของกลีบด้านนอก กลีบรูปมนกว้าง ผิวนอกมีขนคลุมบางๆ กลีบดอกสีเหลืองรูปไข่กลับ ยาว 15-20 มม. ส่วนด้านล่างเป็นก้านกลีบยาว 4 มม. เกสรตัวผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน รังไข่และหลอดเกสรตัวเมียเกลี้ยงหรือมีขนประปราย
ผล ฝักแบนรูปบรรทัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 15-22 ซม. เมื่อฝักแก่จะปริอ้าออก ฝักมักจะบิดงอ เปลือกฝักค่อนข้างบางเกลี้ยงไม่มีขน แต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด ขนาดกว้าง 5 มม. ยาว 9 มม. สีน้ำตาล
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ดอกอ่อน ใบอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ดอกอ่อน เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ใบอ่อน ตลอดปี
13. คุณค่าทางอาหาร ยังไม่มีข้อมูล
14. การปรุงอาหาร ดอกอ่อน ใบอ่อน นำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง คล้ายแกงขี้เหล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แผนที่บ้านช่างจำนงค์


ดู มีดช่างจำนงค์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ไม้เสลา

มีดเหน็บ 50

มีดเหน็บ 51

มีเหน็บ 52

มีดเหน็บ 53

มีดเหน็บ 54

มีดเหน็บ 55

มีเหน็บ 56

มีดเหน็บ 57

มีดเหน็บ 58