7.7.52

ไม้มะค่าแต้ 
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดสุรินทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.
วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น แต้ มะค่าหนาม มะค่าหยุม
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 - 25 เมตร
เปลือก เรียบสีเทาคล้ำกิ่งอ่อนมีขนคลุมบาง ๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ต่ำ
ใบ ประกอบรูปขนนก เป็นช่อติดเรียงสลับ ใบย่อย เรียงตรงข้ามกัน 3 - 4 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรี ถึงรูปบรรทัดแกมรูปรี กว้าง 3 - 8 เซนติเมตร ยาว 6 - 15 เซนติเมตร ปลายใบกลมหยักเว้าตื้น ๆ ตรงกลางเล็กน้อย และโคนใบแหลมหรือมน ผิวใบด้านล่าง มีขนสั้น
ดอก ดอกเล็กสีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง
ผล เป็นรูปโล่ ขนาด 4 - 9 เซนติเมตร มีจงอยแหลมที่ปลาย ผิวฝักมีหนามแหลมแข็ง แตกเมื่อแห้งแต่ละฝักมีเมล็ด 1 - 3 เมล็ด
นิเวศวิทยา ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเต็งรัง ป่าชายหาดทั่ว ๆ ไป และป่าเบญจพรรณแล้งทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ สามารถขึ้นได้ดีบนพื้นที่ที่เสื่อมโทรม ค่อนข้างแห้งแล้งออกดอก มีนาคม - พฤษภาคม ผลแก่ กรกฎาคม - กันยายนขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด ตัด - ทำแผลที่ปลายเมล็ด แล้วนำไปแช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ
ข้อสังเกตและผลการทดลอง เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10 - 15 วัน
ประโยชน์ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่ ค่อนข้างหยาบ แข็งแรง ทนทาน ทนมอดปลวกได้ดี แต่ไสกบตบแต่งยาก ใช้ก่อสร้างและเครื่องมือการเกษตร ไถ คราด และส่วนประกอบเกวียน ฝักและเปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แผนที่บ้านช่างจำนงค์


ดู มีดช่างจำนงค์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ไม้เสลา

มีดเหน็บ 50

มีดเหน็บ 51

มีเหน็บ 52

มีดเหน็บ 53

มีดเหน็บ 54

มีดเหน็บ 55

มีเหน็บ 56

มีดเหน็บ 57

มีดเหน็บ 58